วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติขนมลูกชุบ

ลูกชุบ" เป็นขนมประจำถิ่นโปรตุเกส แพร่หลายมาถึงย่านเมดิเตอร์เรเนียนแถบฝรั่งเศสตอนใต้ เพราะอยู่ใกล้บ้าน เช่น เมืองนิส เมืองคานส์ก็มีขนมลูกชุบมากมายทั้งเมือง ลูกชุบในภาษาโปรตุเกส เรียกว่า Massapa'es เป็นขนมประจำถิ่นของแคว้นอัลการ์อิ โดยโปรตุเกส ใช้เม็ดแอลมอลด์ เป็นส่วนผสมสำคัญ แต่ในประเทศไทยไม่มี จึงต้องใช้ถั่วเขียวแทน เนื่องจากขนมโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ความชำนาญพิเศษ จึงจะได้ขนมหวานที่รสชาติออกมาสีสวยงาม ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่างๆระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น สีเหลือง สำหรับขนมที่จะปั้นเป็นผลมะปรางใช้ฟักทองนึ่งแล้วยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีแสด เช่นผลมะเขือเทศสีดา ใช้มะละกอสุกยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีชมพู เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม ใช้หัวบีทรูทต้มยีละเอียดกรองแต่น้ำผสมในถั่วกวน สีแดง เช่นผลเชอรี่ ใช้หัวบีทรูทเช่นกัน แต่ใส่ให้มากขึ้น สีเขียว เช่น พุทรา มะยม ชมพู่เขียว ใช้ใบเตยหั่นละเอียดกรองเอาแต่น้ำ สีน้ำตาล เช่น ผลลำไย ละมุด ใช้ผงโกโก้ร่อน ผสมในถั่วกวน

ประวัติขนมทองหยิบ(ต้นตำรับ)

ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป เมื่อสมัยอยุธยา เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" "ท้าวทองกีบม้า" หรือ "มารี กีมาร์" เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)" ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก ชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย" การอ้างอิง ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"

ท้าวทองกีบม้า ราชินีแห่งขนมไทย

ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (Marie Guimar de Pinha) (พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 - พ.ศ. 2265) ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)[1] เธอเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับทำขนมไทย ประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิเสท ซึ่งได้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่มาเยือนในสมัยนั้น มีผู้ยกย่องว่าท้าวทองกีบม้าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" ท้าวทองกีบม้าคนนี้เกิดที่กรุงศรีอยุธยา ชื่อจริงว่า ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ดอนญ่า ในภาษาสเปนหรือโปรตุเกสแปลว่า คุณหญิง) หรือตองกีมาร์ (Tanquimar) เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอล[2] โดยมารดาของท้าวทองกีบม้าชื่อ เอิลร์สุลา ยามาดา (Ursula Yamada) หรือหนังสือบางเล่มเรียกว่า เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพลี้ภัยทางศาสนาเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา [3] ส่วนบิดาชื่อ ฟานิก กูโยมา (Phanick Guimar หรือ Fanik Guyomar) ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและโปรตุเกสจากอาณานิคมกัว[3] (ปัจจุบันคือรัฐกัว ประเทศอินเดีย) ครอบครัวของยามาดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนามาก เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ยายของท้าวทองกีบม้า เคยเล่าว่า เขาเป็นหลานสาวของนักบุญฟรังซิส ซาเวียร์ (Saint Francis Xavier) คริสต์ศาสนิกชนคนแรกของประเทศญี่ปุ่น และนักบุญชื่อดัง โดยได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้[4] ราวปี พ.ศ. 2135 ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi, 豊臣 秀吉) ผู้สำเร็จราชการของญี่ปุ่น ต้องการล้มล้างวัฒนธรรมตะวันตก จึงออกพระราชฎีกาในนามของพระจักรพรรดิ์ให้จับกุม ลงโทษ และริบสมบัติชาวคริสต์ ยายของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นชาวคริสต์จึงถูกลงโทษด้วย นางถูกจับยัดใส่กระสอบนำลงเรือมาที่นางาซากิ เพื่อเนรเทศไปยังเมืองไฟโฟ (Faifo) ปัจจุบันคือ ฮอยอัน ในประเทศเวียดนามเพราะมีชาวคริสต์อยู่มาก บนเรือนี่เองที่ทำให้ยายของท้าวทองกีบม้า พบกับตาของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทั้งสองคนจึงมาตั้งหลักปักฐานที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นประเทศที่ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ และไม่รังเกียจคนต่างศาสนา ท้าวทองกีบม้า เป็นหญิงสาวที่มีนิสัยเรียบร้อย ซื่อสัตย์ และเคร่งครัดในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะมีเรื่องของมารดาเธอที่ถูกกล่าวหาโดยบาทหลวงชาวอังกฤษผู้หนึ่งว่า ยามาดะ (มารดาของท้าวทองกีบม้า) เป็นสตรีที่ประพฤติไม่เรียบร้อย ชอบคบผู้ชายไม่เลือกหน้า แม้จะแต่งงานกับฟานิกแล้ว ยังแอบปันใจให้ชายอื่นเสมอ โดยเฉพาะหนุ่มโปรตุเกสในค่ายที่ยามาดะอาศัยอยู่ แต่ฟานิกผู้เป็นบิดาของท้าวทองกีบม้ามีผิวดำ แต่มีลูกผิวขาวหลายคนรวมทั้งท้าวทองกีบม้า และทำให้ฟานิกบิดาของท้าวทองกีบม้าถูกชาวยุโรปดูถูกดูแคลนเสมอ อย่างไรก็ตามท้าวทองกีบม้าก็ได้แต่งงานตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่นิสัยต่างกันมาก ก่อนที่จะแต่งงานกับฟอลคอน ฟอลคอนเคยมีภรรยามาแล้วหลายคน แต่ส่งไปอยู่เมืองพิษณุโลก ส่วนลูกนั้นมารี กีมาร์นำมาเลี้ยงเองเนื่องจากเธอเป็นคนใจบุญสุนทาน เธอรับเลี้ยงเด็กสาวที่ยากจน และเด็กที่มีบิดาเป็นชาวยุโรป และมีมารดาเป็นชาวไทยแต่ถูกทอดทิ้ง เธอนำมาเลี้ยงดูมากมายหลายคน แม้เธอจะมีปัญหาระหองระแหงกับฟอลคอน แต่ก็ยังประคองความรักจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนได้แก่ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2227 และฮวน ฟอลคอน (Juan Phaulkon) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2231 ต่อมาเมื่อสามีนางถูกลงโทษข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง และได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ท้าวทองกีบม้าได้ประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา โดยดัดแปลงตำรับเดิมโปรตุเกส และเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน ซึ่งหลักๆได้แก่ มะพร้าว แป้งและน้ำตาล จนทำให้เกิดขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อย พระราชวังก็ได้ให้ความชื่นชมมากและถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น แม้ท้าวทองกีบม้าจะมีชีวิตในระยะแรกๆ ค่อนข้างลำบาก สามีถูกประหาร ต้องมีชีวิตระหกระเหิน ถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ แต่ด้วยความสามารถ และอุปนิสัยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บั้นปลายชีวิตของเธอจึงสุขสบายและได้รับการยกย่องตามควร ท้าวทองกีบม้ามีอายุยืนถึง 4 รัชกาล คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือและสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า เพี้ยนมาจากชื่อ ตองกีมาร์ นั้นเอง มีหลักฐานบ่งว่าท้าวทองกีบม้าถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 66 ปี ท้าวทองกีบม้า เมื่อเข้าไปรับราชการในพระราชวังได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกส ให้เป็นขนมหวานของไทย และเผยแพร่ไปโดยทั่วไป ท้าวทองกีบม้าจึงได้ชื่อเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มีดังต่อไปนี้ กะหรี่ปั๊บ ขนมหม้อแกง ทองม้วน ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง[5] สังขยา ขนมผิง ท้าวทองกีบม้า: ภาพจากปกหนังสือเรื่อง "ท้าวทองกีบม้า" โดยคึกเดช กันตามระ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิด ดอญา มารี กีมาร์ เดอ ปีนา ประมาณปี พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา เสียชีวิต พ.ศ. 2265 กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา อาชีพ หัวหน้าห้องเครื่องต้นในราชสำนักสมัยอยุธยา รู้จักในสถานะ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำหรับขนมไทย และได้รับการยอมรับเป็น ราชินีขนมไทย ศาสนา คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก คู่สมรส เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) บุตร จอร์จ ฟอลคอน ฮวน ฟอลคอน บิดามารดา นายฟานิก กูโยมา นางเออร์ซูลา ยามาดะ

ประวัติขนมไทย

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย ต่อมา ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอา วัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ จนทำให้คนรุ่นหลังๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทย แท้ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และ ฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนม ที่ใส่ไข่มักเป็น “ของเทศ” เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์